การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโมเดิร์น

การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโมเดิร์น

Preservation Of Modern Architecture

เหตุใดสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่คนเคยมองว่าน่าเกลียด จึงสมควรได้รับการยกย่องเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ควรค่าแก่การอนุรักษ์

บทควาทวิชาการ ยงธนิศร์ พิมลเสถียร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ความนำ

สถาปนิก นักผังเมือง และผู้ที่อยู่ในแวดวงการออกแบบ คงคุ้นเคยกับคำภาษาอังกฤษว่า Modernity,Modern movement หรือ Modernism สำหรับงานสถาปัตยกรรมที่สร้างารรค์ ที่เดี่ยเนื่องกับคำดังกว่าง คือ Modern architecture หรือ ที่เคยมีผู้แปลว่า สถาปัตยกรรมแผนใหม่บ้าง สถาปัตย์กรรมโมเดิร์นบ้าง สถาปัตยกรรมใหม่บ้าง หรือบางคนเรียกทับศัพท์ว่า สถาปัตยกรรมนายุค แต่ในบทความนี้จะขอใช้ทับศัพท์ว่า สถาปัตยกรรมโมเดิร์น เนื่องจากเห็นว่าสามารถเข้าใจได้ง่าย และคำว่า โมเดิร์น เป็นชื่อเฉพาะของรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ทราบกันเป็นสากลอยู่แล้ว

กลุ่มประเทศตะวันตกในช่วงปลายคริสตทศวรรษที่ 1980 ได้มีความเคลื่อนไหวทางวิชาการเกี่ยวกับ การอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมโมเดิร์น ในประเทศไทยก็ได้เกิดขึ้นเช่นกัน แต่ยังไม่ได้ขยานในวงกว่าง คาดว่าในสังคมยังไม่เห็นความสำคัญ หรือความจำเป็นในการอนุรักษ์เท่าใดนัก บทความนี้จึงขอร่วมแสดงข้อคิดเป็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโมเดิร์น ซึ่งมีจำนวนพอสมควรในประเทศไทย ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่

1.ความหมายและลักษณะของสถาปัตยกรรมโมเดิร์น

2.สถาปัตยกรรมโมเดิร์นกับการเป็นมรดกวัฒนธรรม

3.ภัยคุกคามและเทคนิควิธีการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโมเดิร์น

4.การปกป้องคุ้มครองสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในระดับสากล ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผุ้ที่สนใจ ได้ใช้ประกอบในการพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์ ข้อกำหนดต่าง ๆ เพือนำไปสู่การตัดสินใจว่าสมควรจะอนุรักษ์สถาปัตย์กรรมโมเดิร์นหรือไม่ อย่างไรในอนาคต

ความหมายและลักษณะของสถาปัตยกรรมโมเดิร์น คำว่า สถาปัตย์กรรมโมเดิร์น หรือ Modern architecture เป็นคำเรียกเฉพาะ ไม่ใช้ปะปนกับ คำว่า สถาปัจยกรรมร่วมสมัย Contemporary architecture มีควาทเกี่ยวช้องกับคำว่า Modernity การกำเนิดของสถาปัตยกรรมโมเดิร์น มีที่มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน บางท่านว่ามาจากการพัฒนาเทคโนดลยีและวิศวกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคิดค้นโลหะเหล็กกล้า คอนกรีตเสริมเหล็กและกระจก ซึ่งส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ตั้งแต่ปลายคริสต์สตวรรษที่ 18 บางท่านว่า มาจากรสนิยมที่ต่อต้านความหรูหรา การตกแต่งประดับประดาจนเกินควร จนเกิดรูปแบบ สถาปัตยกรรมขึ้นใหม่ ในขณะเดียวกัน บางท่าก็ว่ามีความเกี่ยวพันกับการเกิดลัทธิ สังคมนิยมและการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นกระแสหรือเป็นผลพวงจากกระแสต่าง ๆ จะเห็นผลออกมาเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีความแตกต่างจากยุคก่อน ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง ต้นศตวรรษที่ 20 ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมโมเดิรืนเริ่มชัดเจนว่าเป็นกระแสหลัก ได้เกิดขึ้นในช่วงครื่งหลังของศตวรรษที่ 20

ลักษณะของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่เด่นและแตกต่างจากสถาปัตยกรรมยุคก่อนหน้า มีดังนี้

-การใช้หลักการที่ว่า วัสดุและหน้าที่ใข้สอยเป็นปัจจัยในการกำหนดรูปแบบ

-การได้รับอิทธิพลจากเครืองจักรหรือการเห็นว่าเครื่องจักรกลคือความงามอย่างหนึ่ง

-การปฏิเสธการตกแต่งประดับประดาอาคาร

-การกำหนดรุปทรงที่เรียบง่าย ตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออก

-การเน้นโครงสร้างให้เป็นชัดเจน

-การทีรูปทรงที่สนองตอบหน้าที่ใช้สอย(รู้จักกันดีในประโยคที่ว่า Form follows fundtion)

การใช้วัสดุสมัยใหม่ในยุคนั้น อาจแบ่งตามหน้าที่ใช้สอยได้คือ ใช้กระจกเป็นส่วนประกอบรูปด้าน อาคารใช้เหล็กเป็นโครงสร้างภายนอก และใช้คอนกรีต(เสริมเหล็ก) เป็นพื้น และโครงสร้างภายใน ตัวอย่างของงานในยุคนี้ เริ่มในยุโรปโดยเฉพาะในเยอรมันและฝรั่งเศสในช่วงค.ศ.1900 และได้แพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีสถาบันสอนสถาปัตยกรรมคือ Bauhaus ในเยอรมัน และ Beaux-Arts ในฝรั่งเศส สถาปนิกที่ถือกันว่าเป็นผุ้นำในกระแสนี้ได้แก่ Le Corbusier ชาวฝรั่งเศส Ludwig Mies van der Rohe และ Walter Gropius ชาวเยอรมัน ซึ่งรายหลังเคยเป็นผุ้อำนวยการของ Bauhaus ด้วยในอังกฤษ ก่อนนั้นมีอาคารที่ถือว่าเป็นนวตกรรมที่รุ้รจักกันทั่วโลกคือ The Crystal Palace ที่ออกแบบโดย Joseph Paxton ตั้งแต่ปีค.ศ.1851 ต่อมา เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ.1900-1999) เมือง Liverpool เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่มือาคารในรูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์น เป็นจำนวนมาก (Stratton,1997,1) ซึ่งเมืองอุตสาหรรมอื่น ๆ ก็เป็นเช่นกัน จึงมักมีผู้เรียกสถาปัตยกรรมในยุคนี้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งศตวรรษที่ 20

ในช่วงปีค.ศ.1932 สหรัฐอเมริกาได้จัดนิทรรศการ สถาปัตยกรรมโมเดิร์น โดย Philip Johnson และ Henry Russell Hitchcock ซึ่งทำให้เห็นว่างานของประเทศต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงจะมีรูปแบบไปในทางเดียวกัน จึงได้เรียกรวม ๆ กันว่า International style หรือที่เรามักแปลว่า แบบสากลเรียบ และต่อมา ในช่วงหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 บุคคลสำคัญของ Bauhaus ได้เดินทางไปอเมริกาและเผยแพร่รูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นอย่างกว้างขวาง ต่อมา ในสหรัฐอเมริกาจึงได้แบ่งรูปแบบของสถาปัตยกรรมในช่วงค.ศ.1920 – 1945 ออกเป็น 3 รูปแบบย่อย ได้แก่ International style (1920-1945) Art Deco (1925-1940) และ Atr Moderne(1930-1945) ซึ่งแตกต่างกันในรายละเอียดการตกแต่งอาคาร (Blumenson,1981,74-79) แต่ทั้งสามรูปแบบใช้คอนกรีต เหล็ก และกระจก เป็นวัสดุหลัก ในการก่อสร้างและตกแต่งอาคารเหมือนกัน

ในทางสากล สถาปัตย์กรรมโมเดิร์น ได้เสื่อมความนิยมลงในช่วง ค.ศ.1980 เนื่องจากมีข้อวิจารณ์ว่าไม่มีควาทเป็นมนุษย์ เป็นเหมือเครื่งจักรที่ให้มนุษย์อยู่อาศัยเท่านั้น นอกจากนั้นยังเกิดความเบื่อหน่าย รูปทรงกล่องเรียบ ๆ และเป็นรูปแบบที่ทำกันทั่วโลก ไม่มีความหมาย ทำให้เกิดรูปแบบ Post-Modern และรูปแบบอื่น ๆในเวลาต่อมา

สำหรับในประเทศไทย ในช่วงที่เริ่มมีสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในอเมริกานั้น ตรงกับช่วงปลายรัชการที่ 5 กับรัชการที่ 6 (ค.ศ.1910 – 1925) ซึ่งเป็นยุคของการพัฒนาประเทศไทย ไปสู่ความทันสมัย โดยยังมีอาคารที่เป็นรูปแบบตะวันตกทั้งหมดที่ออกปบบโดยสถาปนิกชาวตะวันตก และอาคารรูปแบบผสมผสานศิลปะไทยกับตะวันตก และอาคารรูปแบบผสมผสานศิลปะไทยกับตะวันตก ในช่วงนั้นได้มีสถาปนิกไทยที่ได้ไปเรียนจากยุโรปกลับมาแล้วบ้าง แต่ยังไม่มีบทบาทเท่าใดนัก แต่ในช่วงรับการที่ 7(ค.ศ.1925 – 1934) ประเทศไทยประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้รัฐบาลต้องประหยัด ซึ่งมีผลต่อรูปแบบอาคาร รวมทั้งมีสถาปนักไทยที่สำเร็จการศึกษาจากยุโรปกลับมา และเริ่มมีบทบาทมากขึ้น รูปแบบของสถาปัตยกรรมโมเดิร์น จึงได้เห็นเด่นชัดขึ้นในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และคณะ,2536) อาจกล่าวได้ว่า สถาปัตยกรรมโมเดิร์นในประเทศไทย เกิดขึ้นจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ต้องประหยัด การถ่ายทอดแนวคิดและเทคโนโลยีผ่านทางสถาปนิกไทย ที่ร่ำเรียนจากยุโรปซึ่งเป็นต้นกำเนิดแนวคิด และการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองในการเข้าสู่ประเทศประชาธิปไตย

สถาปนิกชาวไทยไปศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมจากตะวันตกในช่วงรัชการที่ 7 และกลับมาสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมโมเดิร์น ได้แก่ หม่อมเจ้า อิทธิเทพสรรค์ กฤตากร ซึ่งได้ทรงออกแบบพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร (ทรงจบจาม Beaux-Arts) ได้ทรงออกแบบอาคารศาลาว่าการกรุ่งเทพมหานครที่ถนนดินสอ (แต่สร้างไม่เติมรูปแบบเดิม) รวมทั้งอาคารต่าง ๆ ใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จอกจากนั้นยังได้ออกแบบอาคารโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ร่วมกับอาจารย์ นารถ โพธิประสาท(จบการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมเกียรตินิยมเหรียญทอง จากมหาวิทยาลัย Liverpool ประเทศอังกฤษ เดิมรับราชการในกรมโยธาเทศบาล ภายหลังเป็นอาจารย์ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งเป็นโรงภาพยนต์แห่งแรกในเอเชียที่มีระบบปรับอากาศ งานออกแบบอื่น ๆ ของอาจารย์นารถ ที่เป็นแบบสากลเรียบ (International Style) เช่น อาคารกองบัญชาการปราบปรามตำรวจที่สามยอด หมู่อาคารกองบัญชาการตำรวจสันติบาล(เดิม) และอาคารกองบัญชาการกองทัพอากาศที่ดอนเมือง และโรงพยาบาลกลาง ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยังมีสถาปนิกไทยอีกท่านที่จบการศึกษาจาก Beaux-Arts คือ นายจิตรเสน อภัยวงศ์(หมิว อภัยวงศ์) ซึ่งได้ออกแบบอาคารสองฝั่งถนนราชกำเนินกลาง อาคารตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารกรมไปรษรณีย์โทรเลข บางรัก และอาคารกระทรวงยุติธรรม(โชติ กัลยาณมิตร พ.ศ.2525,56-57) อาคารเหล่านี้ ส่วนหนึ่งยังคงเป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่หลายอาคารก็ได้มีการรื้อทั้ง หรือเปลี่ยนรูปแบบไปแล้ว

ในช่วงต่อมา หรือรัชการที่ 8 และต้นรัชการปัจจุบัน สถาปนิกที่มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถาปัตยกรรมคือ ดต.วทัญญู ณ ถลาง (เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสูงในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม และสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบอาคารเมืองไทยประกันชีวิต อาคารหอพักนักคึกษาที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ซึ่งเป็นตัวอย่างของการใช้แนวคิดสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในการกำหนดความสูงของชั้นอาคาร และความจำเป็นในหน้าที่ใช้สอย รวมท้งการคำนวณเพื่อใช้ในการออกแบบแผงกันแดดของอาคาร หรืออาคารคุรุสัมมนาคร ที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นอาคารที่เป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมผสมผสานกับการใช้วัสดุในท้องถิ่น นอกจากนั้น ยังมีหม่อมหลวงสันธยา อิศรเสนา ผู้ออกแบบพระตำหนักภูพาน จังหวัดสกลนคร พระตำหนักทักษัณราชนิเวศ จังหวัดนราธิวาส ที่ทำการ บขส.พหลโยธิน หมุ่อาคารที่ทำการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย บางซื่อ และโรงพิมพ์ธนบัตร กระทรวงการคลัง สถาปนิกอีกผู้หนึ่งคือ ตร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้ออกแบบโรงเรียนสอนคนตาบอด ถนนราชวิถี พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เอกมัย มีผุ้กล่าวว่า ดร.วทัญญูฯ เป็นผุ้นำแนวคิเทคโนโลยีโมเดิร์นเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ส่วนดร.สุเมธฯ เป็นผู้ทำให้เกิดการผสมฟสานอย่างพอดีระหว่าง ความงามของสถาปัตยกรรม กับโครงสร้างทางวิศวกรรม (โชติ กัลยาณมิตรม,พ.ศ.2525,58-59)

การสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่มีในจังหวัด ภูมิภาค มีตัวอย่างจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวาราวดี จนมีการวงแผนเมือง ให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางการทหารระหว่างส่งครามโลกครั้งที่ 2 โดยย้ายฐานยุทโธปกรณ์มาจากกรุ่งเทพย์ มาลพบุรี จนแม้หลังสงครามสงบแล้ว เกิดความขัดแย้งทางการเมือง จอมพล ป.พิบุ,ส่งคราม นายกรัฐมนตรี มีการวางผังและสร้างอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นจำนวนมาก เช่น โรงแรมทหารบก (ปัจจุบันคือโรงแรมวิบูลศรี) อาคารราชการในสถานศึกษา และอาคารพาณิชย์(ธนาการ ตาระกา,2550,85-86)

การศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในประเทศไทยยังมีอยู่เป็นจำนวนน้อย แต่เท่าที่ได้ประมวลมาอย่างสังเขปดังข้างต้น ทำให้ทราบว่าในประเทศไทยก็ไม่ได้มีการพัฒนาที่ล่าข้ากว่าประเทศต้นกำเนิดเท่าใดนัก ซึ่งน่าจะมีการศึกษาในรายละเอียดต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องของนวตกรรมการใช้วัสดุและการก่อสร้างในยุคนั้น การผสมผสารกับแนวทางของไทย รวมทั้งการจัดการทำระเบียนอาคารและสถาปนิกผู้ออกแบบ เพื่อนให้ได้ทราบถึงที่มาและการพัฒนาการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาสถาปัตยกรรมและชุมชนเมืองอย่างมาก ปัจจุบันงานสถาปัตยกรรมและชุมชนเมืองอย่างมาก ปัจจุบันงานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่ได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว บางแห่งก็กำลังจะถูกรื้อถอนเพื่อพัฒนาให้เป็นอาคารสูงหรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่น จึงน่าที่จะได้มีการรวบรวมไว้ ก่อนทีอาคารเหล่านี้จะสูญสลายไปหมด อย่างน้อยก็เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์การพัฒนาชาติไทย

สถาปัตยกรรมโมเดิร์นกับการเป็นมรดกวัฒนธรรมไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัย การจะตัดสินว่าจะอนุรักษ์อะไรมักจะมีประเด็นปัญหาให้ถกเถียงอยู่เสมอ สถาปัตย์กรรมโมเดิร์นก็เช่นกัน หากจะมีความเคลือนไหวให้มีการอนุรักษ์ หลายคนคงไม่เห็นด้วย ในขณะที่หลายคนอาจเห็นว่าน่าจะอนุรักษ์ โดยทั่วไป สิ่งที่จะอนุรักษ์นั้นจะร้องมีคุณค่า (value) และความสำคัญ (significance) ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีแนวคิด วิธีการรับรู้คุณค่าความสำคัญต่างกัน โดยทั่วไปการวิเคราะห์และตัดสินใจด้านคุณคาจะใช้กลุ่มผู้เชี่ยวขาญ เพราะหากให้มติมหาชน อาจทำให้ไม่เหลืออะไรให้อนุรักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาและประชาชนสนในแต่เรื่องเศรษฐกิจ และการทำมาหากิน แต่ในทางกลับกัน หากประชาชนต้องการอนุรักษ์ท้องถิ่นของตน แต่รัฐบาลหรือผู้เชียวชาญไม่เห็นความสำคัญ เพราะไม่ได้มีการศึกษาอย่างถ่องแท้ ก็ทำให้เกิดการทำลายแหล่งที่มีคุณค่าสำคัญสำหรับชุมชนไปได้เช่นกัน


ข้อมูลTCDC

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม